12. แว่นมีสีแก่ข้างบน จางข้างล่าง ดีไหมแว่นมีสีแก่ข้างบน จางข้างล่าง ทำไว้เพื่อความสวยงาม ไม่มีข้อดีหรือข้อเสียอย่างไรเป็นพิเศษ
13. เวลาแว่นแตกไปข้างหนึ่ง ควรเปลี่ยนทั้งสองข้าง หรือเฉพาะข้างที่แตกควรจะเปลี่ยนทั้งสองข้าง เพราะจะได้กระจกที่มีคุณภาพ ความโค้ง ความหนาและสีชนิดเดียวกัน
14. แว่นอ่านหนังสือ ต้องเปลี่ยนบ่อยไหม แว่นอ่านหนังสือเปลี่ยนบ่อยหรือไม่ขึ้นอยู่กับสุขภาพทั่ว ๆ ไป และการใช้สายตามากน้อยเพียงไร แว่นอันแรกของการอ่านหนังสือนั้น สำคัญมาก ต้องให้เหมาะสม ไม่ให้มากเกินไป เพราะจะทำให้ผู้ใช้ไม่ยอมใช้ความสามารถของตัวเอง สายตาจะแย่ลงไปเร็ว
15. ที่ว่าแว่นชนิดใหม่ Progressive เห็นดีทุกระยะ จริงไหม ดีหรือไม่ ดีกว่าชนิดสองชั้นอย่างไร
แว่นตาชนิดใหม่ซึ่งเป็นพวก Progressive Lens คือกำลังของแว่นจะเพิ่มขึ้นเป็นช่วง ๆ นั้น ดีกว่าเลนส์ 2 ชั้น โดยเฉพาะด้านความสวยงาม ปกติเรามักจะไม่ค่อยชอบให้ผู้อื่นรู้ว่าเราอายุแค่ไหน การใช้แว่น 2 ชั้น ทำให้ผู้เห็นพอจะกะอายุผู้ใส่ได้ การใช้แว่นพวกนี้ในระยะแรกต้องมีความอดทนพอสมควร เพราะภาพที่เกิดขึ้นนั้นเห็นชัดดีในลานสายตาที่ไม่กว้างนัก เวลาดูข้าง ๆ จะเห็นของผิดจากลักษณะความเป็นจริง คือจะเบี้ยวและไม่ชัด ทำให้เกิดความไม่สบายตาขึ้น เวลาใส่ใหม่ ๆ จึงแนะนำให้หันหน้าไปมองตรง ๆ ไม่ใช่ใช้ตาเหลือบมอง เลนส์ชนิดนี้ต้องใช้กับกรอบแว่นซึ่งสามารถดัดได้ง่าย เพื่อง่ายต่อการดัดแปลงหลังจากใช้มาพอสมควร เช่น ใช้นาน ๆ หรือแว่นหลวมตกและควรจะเป็นกรอบที่ดัดทางด้านจมูกหรือส่วนหน้าง่าย เลนส์พวกนี้ดีในแง่ที่สามารถเห็นภาพได้ชัดทุกระยะในลานสายตาที่กว้างพอประมาณ เวลาใช้ ผู้อื่นก็คิดว่าเป็นสายตาทั่ว ๆ ไป ไม่ใช่สำหรับ “ สายตาคนแก่ “ แต่เนื่องจากราคาแพงและภาพที่ไม่ชัดสม่ำเสมอในบริเวณรอบ ๆ ของลานสายตา จึงยังไม่มีคนใช้บ่อยอีกทั้งถ้าจะต้องเปลี่ยนและครั้งต้องเสียเงินมาก
 |
16. ทำไมจึงไม่แนะนำใส่แว่นกรอบโตทั้ง ๆ ที่รับกับใบหน้าดีกว่า
กรอบแว่นโต ๆ นั้น โดยจุดประสงค์แท้จริงแล้ว เขาประดิษฐ์ขึ้นเพื่อใช้เป็นแว่นกันแดด แต่เนื่องจากความสวยงาม จึงทำให้ผู้ที่จำเป็นต้องใช้แว่นสายตาหันมาใช้กรอบชนิดนี้ เพื่อให้ดูดีขึ้น กรอบพวกนี้จำเป็นต้องใช้กระจกสายตาที่ใหญ่ แต่ส่วนใหญ่กระจกสายตามักจะมีขนาดเล็ก จึงมักใช้ถูกต้องตามหลักของวิชาแสง ( Optic ) เมื่อใช้กรอบใหญ่แต่กระจกเล็กจะทำให้จุดศูนย์กลางของกระจกไม่ตรง กับจุดศูนย์กลางของตาผู้ใส่ อาจทำให้เกิดการมึนเวียนศรีษะ ไม่สบายตา เมื่อยล้าเพลียตา ในกรณีที่กำลังของกระจกมาก อาการจะมีมากจนทนไม่ไหว ถึงแม้จะใช้กระจกใหญ่หรือพลาสติก ซึ่งปกติมักจะใหญ่กว่ากระจกธรรมดา มาใช้กับกรอบใหญ่ และจุดศูนย์กลางของกระจกตรงกับจุดศูนย์กลางของตาก็ตาม ผู้ใช้จะรู้สึกว่าไม่สบาย เพราะเมื่อมองผ่านบริเวณรอบ ๆ ของกระจก จะเกิดแสงสีรุ้งขึ้น เกิดภาพเบี้ยวผิดจากลักษณะจริง ดังนั้นจึงไม่แนะนำให้ใช้กรอบโตโดยเฉพาะในรายที่สายตาผิดปกติมาก ๆ
17. แว่นเปลี่ยนสีได้ คืออยู่ในที่ร่มสีจาง ออกนอกสีเข้ม มีจริงไหม ดีกว่าที่ไม่เปลี่ยนสีจริงหรือไม่
แว่นชนิดนี้มีจริง เมื่ออยู่ในที่ร่มจะมีสีอ่อนลง เมื่ออยู่กลางแดดจะเข้มมากขึ้น มีประโยชน์มากกว่าชนิดที่ไม่เปลี่ยนสี แว่นชนิดนี้จะมีประโยชน์มากในที่มีอุณหภูมิต่ำ และมีอุลตราไวโอเลทมาก เพราะส่วนประกอบสองอย่างนี้ช่วยให้สีเข้มขึ้นมาก จึงเป็นที่นิยมใช้กันในประเทศที่มีอากาศหนาว ในประเทศเราพอใช้ได้ เหมาะสำหรับพวกที่สายตาผิดปกติเวลาออกข้างนอก ก็ไม่ต้องเปลี่ยนแว่นเป็นแว่นตากันแดดอีกอันหนึ่ง
18. ในแง่ปฎิบัติ ถ้าสายตาผิดปกติ หรือสายตาต้องใช้แว่นอ่านหนังสือ ควรมีแว่นสำรองไหม
ในแง่ปฎิบัติแล้ว มีความจำเป็นมากเพราะ เมื่อเกิดการสูญหาย หรือแตกหัก สำหรับคนที่มีความผิดปกติของตาน้อย ความจำเป็นก็น้อยลง เพราะพวกนี้สามารถมองเห็นได้ ( ถึงแม้จะไม่ค่อยชัด ) เมื่อไม่มีแว่น แต่พวกที่สายตาผิดปกติมาก จำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องมีแว่นสำรอง พวกที่ต้องใส่แว่นอ่านหนังสือยิ่งจำเป็นมาก เพราะเขาอ่านไม่ได้เลย งานการต้องหยุดทำ
19. แว่นตาสามชั้นมีด้วยหรือ ใช้ทำอะไร
แว่นตาสามชั้นใช้สำหรับคนที่ต้องใช้สายตามองในระยะใกล้ต่าง ๆ กัน เช่น ใช้อ่านหนังสือ อ่านโน้ต และดูไกล หรือสำหรับนักบินที่ต้องดูหน้าปัด เครื่องบินที่อยู่ในระยะต่าง ๆ กัน ราคาค่อนข้างแพง ปรับตัวเข้ากับแว่นตา แต่ถ้าปรับได้จะสะดวกมาก
20. ทำไมแว่นจึงมีราคาต่างกันมาก เช่น สั้น 200 เท่ากัน สีขาวเหมือนกัน แต่ราคาต่างกันมากจริง ๆ
โดยทั่ว ๆ ไปแล้ว ตัวแก้วที่เขานำมาใช้ทำเป็นกระจกแว่นตามีต้นตอมาจากแหล่งอุตสาหกรรมใหญ่ เพียงไม่กี่แห่งในโลกนี้ แล้วค่อยกระจายขายไปตามโรงงานอุตสาหกรรมเล็กลงมา ดังนั้นคุณสมบัติของกระจกมีส่วนคล้าย ๆ กัน มาผิดกันตรงที่วิธีการทำให้เป็นสำเร็จรูปเท่านั้น การเจียระไน การขัดของแต่ละโรงงานมีความละเอียดลออไม่เท่ากัน พร้อมทั้งต้นทุนของการผลิต เช่น โรงงานอุตสาหกรรมที่มีค่าใช้จ่ายสูง ของที่ผลิตออกมาย่อมต้องสูง ตัวอย่างเช่น กระจก A.O. ราคาในเมืองไทยเป็นเพียง 1/3 ของราคาที่อเมริกา ซึ่งเป็นต้นตอผู้ผลิต ทั้งนี้เนื่องจาก การทำสำเร็จรูป เช่น การเจียระไน ตามใบสั่งทำให้เมืองไทยซึ่งค่าครองชีพต่ำ ค่าแรงงานต่ำกว่า ราคาจึงต่ำกว่า แต่คุณภาพดั้งเดิมเหมือนกับที่อเมริกา จะผิดก็แต่ว่า วิธีการที่ทำนั้นจะละเอียดลออได้มาตรฐานหรือเปล่าเท่านั้น