27. ทำไมบางคนต้องการแว่นตา ก็เพียงแต่ไปลอง ๆ ตามร้านแบกับดิน เห็นเขาก็ใช้ได้ แต่บางคนต้องตรวจตากันมากเป็นพิเศษกรณีเช่นนี้มีหลายแบบ ขึ้นอยู่กับชนิดของสายตาผิดปกติของผู้ที่จะใช้แว่นด้วย คนที่อายุมาก มองดูใกล้ ๆ ไม่ชัด ที่เราเรียกว่าสายตาคนสูงอายุ ( Presbyopia ) จำเป็นต้องใช้เลนส์บวก 100 หรือ 200 ก็พอในระยะแรก ซึ่งเลนส์ชนิดนี้หารได้ง่ายมาก เมื่อใส่แล้วอ่านหนังสือได้ชัด อีกพวกหนึ่งคือ พวกสายตายาวหรือสั้น ที่ไม่มีสายตาเอียงร่วมด้วย และมีความสั้นหรือยาวเท่ากันทั้งสองตา ก็สามารถเลือกแว่น
แบกับดินได้ และก็เห็นชัดดี ข้อเสีย ของการเลือกแว่นแบบนี้ คือมักจะได้แว่นที่แก่ไป เพราะเวลาเลือกเราเอาความเห็นชัดเป็นหลัก แว่นยิ่งแก่มากก็ทำให้เห็นชัดมาก เมื่อใสแว่นแก่กว่าสายตานาน ๆ ก็จะเกิดผลเสียขึ้นได้ภายหลัง เช่น ตาแก่เกินกว่าวัย ตาต้องทำงานมาก เกิดตาเพลีย ปวดหัว พวกที่ต้องตรวจตากันมาก คือพวกที่มีสายตาเอียงร่วมด้วย กับสั้นหรือยาว และพวกที่สายตาสั้นยาว ไม่เท่ากันสองข้าง พวกนี้เลือกแว่นแบกับดินยาก เพราะแว่นแบกับดินส่วนใหญ่มักจะไม่มีสำหรับสายตาเอียง และมักจะทำสองข้างเท่า ๆ กัน พวกสุดท้ายคือ เด็ก ๆ การวัดลำบากต้องวัดกันให้ดีจริง ๆ เพราะแว่นสายตาคู่แรกเป็นคู่สำคัญที่สุด ถ้าใส่ผิด ๆ ถูก ๆ จะยากแก่การแก้ไขทีหลัง
28. ควรหรือไม่ ที่เราจะให้ลูกหลานเราใช้แว่นชนิดปลอดภัย ราคาต่างกันมากไหม คุณภาพเท่ากับกระจกทั่วไปหรือเปล่า
คำว่า “ แว่นปลอดภัย “ ไม่ได้หมายถึงเฉพาะกระจกเท่านั้น กรอบแว่นปลอดภัยก็มี สำหรับประเทศเรา เรามักจะคำนึงถึงกระจกอย่างเดียว และมุ่งไปทางผู้ใช้ซึ่งเป็นเด็ก ในต่างประเทศโรงงานอุตสาหกรรมหรือบริษัทก่อสร้างต่าง ๆ มีกฎให้ใส่แว่นปลอดภัย ที่อเมริกา “ กระจกแว่นตา “ ไม่ว่าเด็กหรือผู้ใหญ่ต้องมีคุณสมบัติเป็น “ปลอดภัย”
คำว่าปลอดภัย ไม่ได้หมายความว่าไม่แตก หากหมายถึงความสามารถของกระจกในการทนต่อแรงกระทบที่คณะกรรมการตั้งไว้ ( Standard ) กระจกต้องทนต่อแรงกระทบของลูกเหล็กกลม ขนาด 7/8 นิ้ว ทิ้งห่างจากกระจก 50 นิ้ว
กระจกปลอดภัยนี้ จึงแตกได้ถ้าถูกกระทบด้วยแรงมากกว่าที่กำหนดไว้ แต่การแตกของกระจกพวกนี้จึงมีโอกาสแตกน้อยกว่ากระจกธรรมดา ส่วนมากเวลาแตก มันจะแตกแบบชนิดอัดอยู่ในตัว ไม่ค่อยเป็นเส้น
วิธีการเอากระจกธรรมดามาทำให้เป็นกระจกชนิดปลอดภัยนั้น ส่วนมากได้ผ่านความเย็น การทำนี้ความหนาของกระจกจะต้องตรงตามที่กำหนดไว้ เพื่อให้ทนต่อความร้อนนั้น ๆ การจะทำกระจกแว่นชนิดปลอดภัยต้องบอกล่วงหน้า เพื่อให้เลนส์ที่ใช้ได้ความหนาตามต้องการ ฝนรูปตามกรอบให้เรียบร้อยแล้ว จึงนำไปผ่านความร้อนในตู้อบ เสร็จแล้วจึงใส่กรอบให้เรียบร้อยอีกที กระจกแว่นชนิดนี้หลังจากอบแล้วจะฝนให้เล็กลงไม่ได้ เพราะแรงฝนหรือแรงกระทบระหว่างกระจกและเครื่องมีมากทำให้แตกได้
นอกจากทำกระจกปลอดภัยโดยผ่านความร้อนแล้ว บางทียังใช้พลาสติกใสวางอยู่ระหว่างกลางของกระจก 2 ข้าง
นอกจากนี้ แว่นที่ทำจากพลาสติก ( Plastic Lens ) ก็จัดอยู่ในพวกกระจกแว่นชนิดปลอดภัย เพราะสามารถทนต่อแรงกระทบได้มากกว่ากระจกธรรมดาประมาณ 20 เท่า การที่เราจะให้เด็กใช้กระจกชนิดปลอดภัยหรือแว่นพลาสติก ต้องขึ้นอยู่กับชนิดของตา เพราะพลาสติกเป็นรอยได้ง่าย เด็กมักไม่ค่อยระวัง การใช้พลาสติกจึงต้องเปลี่ยนบ่อย กรณีสายสั้นไม่มากเช่น -2.00D ไม่จำเป็นต้องใช้พลาสติก อาจใช้เป็นกระจกชนิดปลอดภัย แต่ถ้าเด็กสายตา +4.00D ควรแนะนำเป็นพลาสติกเพราะเบามากกว่ากระจกชนิดปลอดภัยเป็นต้น โดยทั่วไปเลนส์ชนิดปลอดภัย ราคาจะสูงกว่าชนิดธรรมดาพอประมาณ
นอกจากเลนส์แล้ว กรอบแว่นชนิดปลอดภัยที่มีแต่ เรามักถือเป็นพวก “ พิเศษ “ ซึ่งส่วนมากใช้ในอุตสาหกรรม กรอบพวกนี้ทำขึ้นให้เหมาะสมกับอาชีพของผู้ใช้ ส่วนมากไม่สวยงามผู้จำเป็นต้องใส่ จึงมักไม่ค่อยยอมใช้
29. ถ้าสายตาเราปกติดีอยู่ ต้องแว่นตากันแดด จะซื้อเอาตามร้านทั่ว ๆ ไป จะเหมาะไหม
ถ้าสายตาปกติจริง ๆ การเลือกซื้อแว่นกันแดดตามร้านทั่ว ๆ ไป ก็จะไม่มีข้อเสียหายอะไร
30. สายตาที่ต้องการใช้กระจกกำลังมาก ๆ แต่กระจกนั้นหนักและหนามาก มีวิธีดัดแปลง หรือมีกระจกชนิดอื่นไหมที่บาง ๆ เบา ๆ
มีกระจกชนิดที่เรียกว่า กำลังสูง ( High Index ) กระจกชนิดนี้มีกำลังมากกว่ากระจกที่ใช้ทำแว่นทั่ว ๆ ไป ในขณะที่มีความหนาเท่า ๆ กัน คนที่สายตาสั้นมาก ๆ สมควรจะใช้กระจกชนิดนี้เพราะไม่หนา แต่กระจกชนิดนี้ราคาแพงมาก