โรคกระดูกพรุน (Osteoporosis)
เป็นภาวะที่ความหนาแน่นเนื้อกระดูกลดลง จากโครงสร้างของกระดูกที่เคยหนาแน่นประสานกันเป็น โยงใยในการรับน้ำหนักได้ดีนั้น มีการเปลี่ยนแปลงที่ทำให้เกิดการโปร่งบางของโครงสร้างกระดูก จึงทำให้ไม่สามารถรับน้ำหนักได้ดีเท่าเดิม อีกทั้งยังมีโอกาสเปราะหักเกิดการบาดเจ็บได้ง่ายอีกด้วยจุดที่พบบ่อยคือ ที่กระดูกสันหลัง กระดูกสะโพก และ กระดูกข้อมือ
สาเหตุของโรค
1. รับประทานอาหารไม่สมส่วนทั้งปริมาณและคุณภาพ โยเฉพาะอย่างยิ่ง การขาดแคลเซียม
2. ขาดฮอร์โมน
3. ได้รับยาบางชนิด เช่น ยากลุ่มคอร์ติโคสเตียรอยด์ ยาต่อมธัยรอยด์ขนาดสูง
4. มีนิสัยชอบสูบบุหรี่ ดื่มสุรา น้ำชา กาแฟ
ท่านทราบได้อย่างไรว่าเป็นโรคกระดูกพรุน
ทำให้กระดูกโปร่งบาง หลังโก่งค่อม กระดูกขาโค้งงอ ปวดหลังปวดกระดูก หากเกิดอุบัติเหตุอาจเกิดกระดูกหักได้ อาจมีผลให้กระดูกสันหลังคดงอ ทับเส้นประสาท จนถึง พิการ ต้องนอนนานๆจนเกิดโรคแผลกดทับ และปัญหาการติดเชื้อซึ่งนำไปสู่การเสียชีวิต
บุคลที่เสี่ยงต่อโรคกระดูกพรุน
1. ผู้สูงวัยทั้งชาย และ หญิง
2. หญิง วัยหมดประจำเดือน หรือถูกตัดรังไข่ทั้ง 2 ข้าง
3. ครอบครัวมีประวัติกระดูกพรุน
4. รูปร่างเล็ก และ ผอมบาง
5. รับประทานอาหารที่มีแคลเซียมไม่เพียงพอ
6. รับประทานอาหารประเภทโปรตีน และ รสเค็มมากไป
7. ขาดการออกกำลังกาย
8. สูบบุหรี่ ดื่มสุรา น้ำชา กาแฟ
9. ใช้ยาสเตียรอยด์ ยากันชัก หรือ ฮอร์โมนธัยรอยด์ขนาดสูงเป็นเวลานาน
10.มีโรคเรื้อรัง เช่น ข้ออักเสบ ปวดกระดูกสันหลังเรื้อรัง เป็นโรคไต
|
ท่านทราบได้อย่างไรว่าเป็นโรคกระดูกพรุน
ปัจจุบันแพทย์สามารถวินิจฉัยโรคกระดูกพรุนได้โดยไม่ต้องรอให้กระดูกหักเสียก่อน โดยการวัดความหนาแน่นของเนื้อกระดูก การตรวจนี้ใช้แสงเอกซเรย์ที่มีปริมาณน้อยมาก ส่องตามจุดที่ต้องการตรวจ แล้วใช้คอมพิวเตอร์คำนวณหาค่าความหนาแน่นของกระดูก เปรียบเทียบกับเกณฑ์มาตรฐาน ใช้เวลาตรวจ 2-5 นาทีก็รู้ผล ไม่ต้องเตรียมตัวอะไรเป็นพิเศษ ไม่เจ็บปวด ถ้าผลมวลกระดูกมีค่าน้อยกว่ามาตรฐาน มาก แสดงว่าท่านมีความเสี่ยงต่อการเกิดกระดูกหักมากเป็นพิเศษ
วิธีป้องกันโรคกระดูกพรุน
1. รับประทานอาหารให้ครบ 5 หมู่ โดยเฉพาะอาหารที่มีแคลเซี่ยมสูง เช่น นมสด ปลาเล็กปลาน้อย ถั่วเหลือง เต้าหู้แข็ง เป็นต้น
2. ดื่มนม แคลเซี่ยมสูง ไขมันต่ำ วันละ 1-2 แก้ว
3. ออกกำลังกายสม่ำเสมอ
4. ไม่ควรรับประทานเนื้อสัตว์หรือ อาหารรสเค็มมากไป
5. งดการสูบบุหรี่ ดื่มสุรา น้ำชา กาแฟ
6. หลีกเลี่ยงการใช้ยาบางชนิด เช่นยา สเตียรอยด์ยาลูกกลอน
การแปลผล
องค์การอนามัยโลกแบ่งสภาพกระดูกเป็น 4 ประเภท
โดยใช้ความหนาแน่นของกระดูกผู้ป่วยที่วัดได้ เทียบกับ ค่าเฉลี่ยความหนาแน่นกระดูกสูงสุดของหนุ่มสาว เรียกค่านี้ว่า ที-สกอร์(T-SCORE)
1.ค่า ที-สกอร์ ไม่ต่ำกว่า -1SD กระดูกปกติ
2.ค่า ที-สกอร์ -1-ถึง-2.5 SD ภาวะกระดูกบาง
3.ค่า ที-สกอร์ ต่ำกว่า -2.5SD ภาวะกระดูกพรุน
4.ค่า ที-สกอร์ ต่ำกว่า -2.5SD ภาวะกระดูกพรุนระยะร่วมกับมีกระดูกหักจากกระดูกบาง รุนแรง
|